Uncategorized

เบี้ยผู้สูงอายุ – คนพิการ รับ 1,000 บาท เงินเข้าวันไหน ลงทะเบียนรับเงินที่นี่

เบี้ยผู้สูงอายุ – คนพิการ รับ 1,000 บาท เงินเข้าวันไหน ลงทะเบียนรับเงินที่นี่

เบี้ยผู้สูงอายุ - คนพิการ รับ 1,000 บาท เงินเข้าวันไหน ลงทะเบียนรับเงินที่นี่
เบี้ยผู้สูงอายุ - คนพิการ รับ 1,000 บาท เงินเข้าวันไหน ลงทะเบียนรับเงินที่นี่

ตารางจ่ายเงิน “เบี้ยยังชีพ เบี้ยผู้สูงอายุ” ประจำปี 2567 มีดังนี้

  • พฤษภาคม 2567 วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2567
  • มิถุนายน 2567  วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2567
  • กรกฎาคม 2567  วันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567
  • สิงหาคม 2567  วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567
  • กันยายน 2567  วันอังคารที่ 10 กันยายน 2567

โดยปัจจุบันมีการจ่ายเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุเป็นรายเดือนตามช่วงอายุ ดังนี้

  • อายุ 60 – 69 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 600 บาท/คน/เดือน
  • อายุ 70 – 79 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 700 บาท/คน/เดือน
  • อายุ 80 – 89 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 800 บาท/คน/เดือน
  • อายุ 90 ปี ขึ้นไป จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 1,000 บาท/คน/เดือน

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพ เบี้ยผู้สูงอายุ ดังนี้

1. มีสัญชาติไทย

2. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3. มีอายุหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งได้ยืนยันสิทธิขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4. เป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุ แห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด

ขั้นตอนการลงทะเบียนรับสิทธิ

  • ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 59 ปีบริบูรณ์สามารถไปลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพล่วงหน้าได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ของปีนั้น และเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในปีถัดไป ก็จะได้รับเบี้ยผู้สูงอายุตั้งแต่เดือน ต.ค. ในปีนั้น ๆ โดยสามารถไปลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพด้วยตัวเอง ได้ตั้งแต่วันที่ 1-30 พ.ย.ของทุกปี

ผู้สูงอายุสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ตั้งแต่เดือน ต.ค.ของทุกปี เป็นต้นไป โดยจะต้องเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 ก.ย. – 1 ต.ค.ของปีนั้น ๆ จึงจะลงทะเบียนล่วงหน้าได้ โดยเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพถัดจากเดือนที่มีอายุครบ 60 ปี นั่นก็คือ เดือน ต.ค. ปีนั้น ซึ่งก็คือ อายุครบ 60 ปีเดือน ต.ค.2565 นั่นเอง

หลักฐานการลงทะเบียนรับสิทธิ

1. กรณีลงทะเบียนด้วยตนเอง

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก (ออมทรัพย์) จำนวน 1 ชุด

2. กรณีผู้สูงอายุไม่สามารถไปลงทะเบียนได้ด้วยตัวเอง ต้องเตรียมเอกสารเพิ่ม คือ

  • หนังสือมอบอำนาจ (ยื่นแบบฟอร์มให้ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด

ขั้นตอนการยื่นขึ้นทะเบียน

การยื่นขึ้นทะเบียนและแนวทางการปฏิบัติของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย

  • ประกาศและประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุทราบสิทธิของตนเอง
  • ลงทะเบียนตามวัน เวลา สถานที่ที่กำหนด (ในวันและเวลาราชการ)
  • ให้ผู้สูงอายุลงทะเบียนได้ตามแบบรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ด้วยตนเอง

สถานที่ในการขึ้นทะเบียน 

  • จุดบริการ ใน กทม. สำนักงานเขต 50 เขต
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
  • อบต.(องค์การบริหารส่วนตำบล) หรือ เทศบาลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

ทั้งนี้ การรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนั้น ผู้สูงอายุสามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทน

ประชาชนสามารถติดตามข่าวสารจากกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพิ่มเติมได้ที่ www.dop.go.th หรือโทร. 02-642-4336

เบี้ยยังชีพ เบี้ยคนพิการ

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ คนพิการ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 (ข้อ 7) ให้คนพิการที่ได้จดทะเบียนคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยความพิการด้วยตนเองต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีภูมิลำเนา ณ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด และมีสิทธิรับเงินเบี้ยความพิการ ในเดือนถัดไป

หลักฐานขอรับเงินเบี้ยความพิการ มีดังต่อไปนี้

1. บัตรประจำตัวคนพิการ (ตัวจริง)

2. ทะเบียนบ้าน (ตัวจริง)

3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร สำหรับกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยความพิการประสงค์ขอรับเงินเบี้ยความพิการผ่านธนาคาร ในการยื่นคำขอลงทะเบียนรับเงินเบี้ยความพิการ คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการจะต้องแสดงความประสงค์ขอรับเงินเบี้ยความพิการโดยรับเงินสดด้วยตนเอง หรือโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี

คุณสมบัติผู้พิการที่ยื่นคำขอ

  • สัญชาติไทย

สถานที่ให้บริการออกบัตรประจำตัวคนพิการ

กรุงเทพมหานคร 

  • ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร ณ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
  • โรงพยาบาลสิรินธร
  • โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
  • สถาบันราชานุกูล
  • โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  • โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
  • ศูนย์บริการคนพิการสายไหม เคหะเอื้ออาทรสายไหม
  • สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)

ต่างจังหวัด

  • โรงพยาบาลประจำจังหวัด/อำเภอ ที่มีศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในโรงพยาบาล
  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • หน่วยงานของรัฐอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด

เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ

  • บัตรประจําตัวประชาชน
  • ทะเบียนบ้านของคนพิการ
  • รูปถ่ายคนพิการ ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป
  • เอกสารรับรองความพิการ

จำนวนเงินที่ได้รับ เบี้ยยังชีพคนพิการ

  • คนพิการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ได้รับเบี้ยความพิการ 1,000 บาท ต่อคนต่อเดือน และคนพิการมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์หรือมากกว่าในเดือนนั้น จะมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาท

ผู้สูงอายุ จี้เพิ่มเบี้ยยังชีพ 1,000 บาททันที พม. จ่อชง ครม. มิถุนายนนี้

เรียกร้อง เบี่ยยังชีพผู้สูงอายุ

กลุ่มผู้สูงอายุ ยื่นหนังสือเรียกร้องเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุถ้วนหน้าเดือนละ 1,000 บาท ด้านกระทรวง พม.เผย อนุกรรมการขับเคลื่อนสวัสดิการมีมติให้เพิ่มแล้ว เตรียมเสนอ ครม.มิถุนายนนี้

วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 มติชน รายงานว่า ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย และภาคีเครือข่าย รวมถึงผู้สูงอายุ ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือ ขอให้เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุถ้วนหน้าเดือนละ 1,000 บาท ทำทันที

นางพรนิภา มาสิลีรังสี รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุกล่าวว่า ตนได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนกระทรวง พม.รับหนังสือ ตามนโยบายของนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ซึ่งจากการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนสวัสดิการโดยรัฐ ที่มีนายวราวุธ รมว.พม. เป็นประธานเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 มีมติให้เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุถ้วนหน้า 1,000 บาท ต่อคนต่อเดือน เป็นจุดเริ่มต้นของการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น

ทั้งนี้ เรื่องสิทธิสวัสดิการสังคมต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ทั้งเรื่องงบประมาณและนโยบาย ซึ่งนายวราวุธได้มอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเร่งจัดทำข้อมูลอย่างรอบด้าน เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายในเดือนมิถุนายนนี้