Uncategorized

เบี้ยผู้สูงอายุ มิถุนายน 2567 เงินเข้าวันไหน เช็กที่นี่

คนแก่

เบี้ยผู้สูงอายุ มิถุนายน 2567 โอนเข้าวันไหน เช็กการลงทะเบียนรับสิทธิ เงินเข้าบัญชี เกณฑ์รับเบี้ยผู้สูงอายุ และหลักฐานการลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนมิถุนายน 2567 เงินเข้าบัญชีใน วันจันทร์ ที่ 10 มิถุนายน 2567 ตามปกติในการจ่ายเงินเบี้ยผู้สูงอายุ หลังจากได้เปิดลงทะเบียนไปแล้วในเดือน ต.ค. 2565-ก.ย. 2566 โดยเงินผู้สูงอายุปกติจะเข้าบัญชีทุกวันที่ 10 ของเดือน ยกเว้นตรงกับวันหยุดราชการ

การจ่ายเงินเบี้ยผู้สูงอายุ ปี 2567

  • มกราคม : วันพุธที่ 10 มกราคม 2566
  • กุมภาพันธ์ : วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567
  • มีนาคม : วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2567
  • เมษายน : วันพุธที่ 10 เมษายน 2567
  • พฤษภาคม : วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2567
  • มิถุนายน : วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2567
  • กรกฎาคม : วันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567
  • สิงหาคม : วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567
  • กันยายน : วันอังคารที่ 10 กันยายน 2567
  • ตุลาคม : วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567
  • พฤศจิกายน : วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567
  • ธันวาคม : วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2567

การจ่ายเงิน

ภาครัฐจะโอนเงินผ่านธนาคารที่ผู้สูงอายุแจ้งมาให้ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน หากวันที่ 10 ของเดือนใดตรงกับวันหยุดเสาร์อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ก็จะเลื่อนเวลาจ่ายเงิน เป็นก่อนวันที่ 10 ของเดือนนั้น ๆ ดังนั้นอาจจะได้รับเงินไม่ตรงวันที่ 10 ในแต่ละเดือน สามารถเช็กเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ได้ทางแอปพลิเคชั่น “ทางรัฐ”

ผู้สูงอายุ รับเงินเท่าไร

  • อายุ 60-69 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 600 บาท/คน/เดือน
  • อายุ 70-79 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 700 บาท/คน/เดือน
  • อายุ 80-89 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 800 บาท/คน/เดือน
  • อายุ 90 ปี ขึ้นไป จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 1,000 บาท/คน/เดือน

เกณฑ์รับเบี้ยผู้สูงอายุ

  • มีสัญชาติไทย
  • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งได้ยืนยันสิทธิขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด
  • ตอนนี้ยังไม่มีการกำหนดคุณสมบัติอย่างชัดเจนเรื่องเกณฑ์การชี้วัดรายได้ที่ไม่เพียงพอ ให้ใช้ระเบียบการเบิกจ่ายฉบับเดิมไปก่อน จนกว่าจะมีการกำหนดคุณสมบัติอย่างชัดเจน

ขั้นตอนการยื่นขึ้นทะเบียน

  • ประกาศและประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุทราบสิทธิของตนเอง
  • ลงทะเบียนตามวัน เวลา สถานที่ที่กำหนด (ในวันและเวลาราชการ)
  • ให้ผู้สูงอายุลงทะเบียนได้ตามแบบรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ด้วยตนเอง

หลักฐานการลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

กรณีลงทะเบียนด้วยตนเอง

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก (ออมทรัพย์) จำนวน 1 ชุด และสำเนา 1 ชุด

กรณีผู้สูงอายุไม่สามารถไปลงทะเบียนได้ด้วยตัวเอง ต้องเตรียมเอกสารเพิ่มคือ

  • หนังสือมอบอำนาจ (ยื่นแบบฟอร์มให้ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมสำเนา 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมสำเนา 1 ชุด

สถานที่การขึ้นทะเบียน

  • จุดบริการ ใน กทม. : สำนักงานเขต 50 เขต
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) : ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
  • สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม.โทร.0-2282-4196
  • องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น : อบต. (องค์การบริหารส่วนตำบล) หรือเทศบาลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

กรณีผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ

ต้องไม่เป็นผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. หรือ อบต.) อาทิ เงินบำนาญ เบี้ยหวัด รวมถึงเงินอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกับเงินเบี้ยยังชีพ เช่น ผู้สูงอายุที่เคยทำงานและได้รับเงินเดือน มีรายได้ประจำ หรือผลตอบแทนอื่น ๆ จากหน่วยงานรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ทั้งนี้ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลหรือติดตามข่าวสารจากกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพิ่มเติมได้ที่ dop.go.th หรือโทร.0-2642-4336

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รับเงินเบี้ยผู้พิการเพิ่ม 200 บาท เข้าบัญชีวันนี้

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รับเงินเบี้ยผู้พิการเพิ่ม 200 บาท เข้าบัญชีวันนี้

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน ผู้พิการรับเงินเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาท โอนเข้าบัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์วันนี้ (20 มิ.ย. 67)

วันนี้ (20 มิ.ย. 67) ถือเป็นวันที่ผู้พิการที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน จะได้รับเงิยเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาทต่อเดือน

โดยผู้ที่มีสิทธิ์รับเงิน จะต้องเป็นผู้พิการที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีบัตรประจำตัวผู้พิการ และได้รับสิทธิสวัสดิการรอบใหม่ โดยจะแบ่งจ่ายดังนี้

  • จำนวน 800 บาท โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารทุกวันที่ 10 ของเดือน
  • เงินเพิ่มเติมอีก 200 บาท โอนให้ทุกวันที่ 20 ของเดือน เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก (หากวันที่ 20 ตรงกับวันหยุดราชการจะโอนเงินให้ก่อน 1 วัน)

ทั้งนี้ เงินเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาทต่อเดือน สามารถกดออกมาเป็นเงินสดได้ เนื่องจากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน