Uncategorized

แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท คนบ้างไกลอยากใช้ดิจิทัลวอลเล็ต ต้องทำอย่างไร

แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท คนบ้างไกลอยากใช้ดิจิทัลวอลเล็ต ต้องทำอย่างไร

เงินดิจิทัล 10,000 บาท คนบ้างไกลอยากใช้ดิจิทัลวอลเล็ต ต้องทำอย่างไร เมื่อคลังกำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่าต้องย้ายทะเบียนบ้านก่อนวันลงทะเบียนจริง

ก่อนหน้านี้ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระบุถึงไทม์ไลน์การแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ตว่าได้กำหนดให้ลงทะเบียนเงินดิจิทัลในไตรมาส 3 ปี 2567 และจะแจกเงินดิจิทัลวอล 10,000 บาท ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อให้ใช้จ่ายภายในไตรมาสที่ 4 ปีเดียวกันนี้ โดยประชาชนที่ต้องการย้ายที่อยู่ในทะเบียนบ้าน สามารถทำได้ก่อนที่จะถึงวันลงทะเบียนแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท เพราะเมื่อมีการลงทะเบียนแล้วจะไม่สามารถย้ายได้อีก

สำหรับการเข้าร่วมโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ คนเก่า-คนใหม่

  • กลุ่มคนเก่า เคยยืนยันตัวตน ไม่ต้องเริ่มต้นยืนยันตัวตนซ้ำ ให้กดรับสิทธิ์เงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านแอปพลิเคชั่นทางรัฐ เท่านั้น โดยรัฐบาลจะดึงฐานข้อมูลของรัฐเดิมมาใช้ในระบบใหม่
  • กลุ่มคนใหม่ ไม่เคยเข้าร่วมโครงการรัฐมาก่อน ต้องลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท และยืนยันตัวตน ถึงจะได้รับสิทธิ์

ส่วนการยืนยันตัวตน ผู้มีสิทธิ์ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นทางรัฐ เพื่อลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการและยืนยันตัวตน โดยจะมีการตรวจสอบสิทธิ์ต่างๆ ทั้งบัญชีเงินฝาก, อายุ รวมถึงรายได้ เมื่อผ่านการตรวจสอบแล้วให้กดยืนยันสิทธิ์เพื่อร่วมโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

หลักเกณฑ์ผู้มีสิทธิเงินดิจิทัล 10,000 บาท ล่าสุด

  • จะต้องมีอายุ 16 ปีบริบูรณ์ ภายในวันที่ 30 ก.ย. 67
  • เงินฝากไม่เกิน 500,000 บาท นับเฉพาะเงินฝากสกุลบาทรวมกันทุกบัญชี ทั้งธนาคารพาณิชย์ และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ (บัญชีเงินฝากประจำ, บัญชีเงินฝากออมทรัพย์, บัตรเงินฝาก, ใบรับเงินฝาก, เงินฝากกระแสรายวัน) ไม่นับรวมสลากออมทรัพย์ และสลากออมสิน เป็นต้น นับยอดบัญชีเงินฝากตั้งแต่ 31 มี.ค. 67 ที่ผ่านมา
  • เกณฑ์รายได้วัดจากฐานข้อมูลเงินได้ของกรมสรรพากร ณ ปี 2566 สิ้นสุดไปแล้วเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 66 กำหนดว่าจะต้องไม่เกิน 840,000 บาท

เงื่อนไขการใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท

  • ระหว่างประชาชนกับร้านค้า: ใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) การชำระเงินต้องเป็นแบบพบหน้า (Face to Face) กำหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก
  • ระหว่างร้านค้ากับร้านค้า: ร้านค้าที่จะรับการใช้จ่ายจากประชาชนต้องเป็นร้านค้าขนาดเล็ก รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กโดยไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก-ค้าส่งขนาดใหญ่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ส่วนร้านค้าที่สามารถรับการใช้จ่ายจากร้านค้า ไม่มีการกำหนดเงื่อนไขเชิงพื้นที่และขนาดร้านค้า

วิธีย้ายทะเบียนบ้านผ่านแอปฯ Thai ID

id

  • ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Thai ID
  • ลงทะเบียนยืนยันตัวตนสำหรับผู้ใช้งานครั้งแรก
  • เลือก “การแจ้งย้ายที่อยู่”

id1

  • ระบุเลขบัตรประจำตัวประชาชน “เจ้าของบ้าน” ที่จะย้ายเข้า

id2

  • ส่งข้อความให้เจ้าบ้านทำการยืนยันตัวตนและให้ความยินยอม

id3

  • เมื่อเจ้าบ้านยินยอม คำขอจะถูกส่งไปยังนายทะเบียนของอำเภอ/เขตที่แจ้งย้าย

id4

  • นายทะเบียนดำเนินการอนุมัติ
  • แจ้งผลทาง SMS ให้ผู้แจ้งย้าย-เจ้าบ้าน

ครม. เคาะแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ล็อตแรกกลุ่มเปราะบางบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ครม. เห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วงเงิน 122,000 ล้านบาท รองรับแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต นำกลุ่มเปราะบาง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 14.98 ล้านคน ล็อตแรก 30 ก.ย. 67

เว็บไซต์ mcot สำนักข่าวไทย รายงานว่า นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. เห็นชอบปรับเพิ่มวงเงินงบประมาณรายจ่ายปี 2567 จำนวน 122,000 ล้านบาท สำหรับ “งบกลาง” หลังคาดการณ์รายได้ภาษีเพิ่ม 10,000 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 112,000 ล้านบาท เพื่อรองรับโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต โดยใช้เงินจาก 3 แหล่งเงิน ได้แก่

  • การบริหารงบฯ ปี 67 จำนวน 175,000 ล้านบาท
  • การยื่นเงินจาก ธ.ก.ส. 172,300 ล้านบาท
  • จัดสรรจากงบฯ ปี 68 จำนวน 152,700 ล้านบาท

การดำเนินการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ตต้องลงทะเบียนผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการให้ทันภายในปีงบฯ 67 เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายงบฯ เพิ่มเติมปี 67 ได้ทันภายในวันที่ 30 ก.ย. 67 และสอดคล้องตาม ม.21 ของ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ คาดว่าดำเนินการได้ทันภายในปีงบฯ 2567 จึงต้องนำผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ ที่เป็นประชาชนกลุ่มเปราะบางผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 14.98 ล้านคน มาร่วมโครงการก่อนในเฟสแรก

การปรับเพิ่มเติมวงเงินงบฯ ปี 67 จำนวน 122,000 ล้านบาท เมื่อรวมกับงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดปี 67 จำนวน 3.48 ล้านล้านบาท ทำให้กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเป็น 3.602 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบฯ 66 จำนวน 417,000 ล้านบาท (ร้อยละ 13.1) คาดการณ์รายได้จากภาษีและรายได้อื่น 2.798 ล้านล้านบาท เพิ่มจากปี 66 วงเงิน 3.7 แสนล้านบาท สองคล้องกับกรอบวงเงินตามแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบฯ 68-71) ฉบับทบทวน ครั้งที่ 2 และสำหรับงบลงทุนฯ และงบฯ ชำระคืนต้นเงินกู้ มีสัดส่วนอยู่ภายในกรอบที่กำหนดตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 61 เตรียมเสนอที่ประชุมสภาพิจารณา เพื่อบังคับใช้ให้ทันงบประมาณปีนี้