สินเชื่อ เงินกู้

สินเชื่อ SME กล้าให้เกิน 100 SME กล้าให้เต็ม MAX จาก ธนาคารไทยเครดิต

อัปเดตจ่ายเงินเข้า “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” ตั้งแต่ พ.ค. 2565 เช็กเลยมีอะไรบ้าง

อัปเดตการจ่ายเงินเข้า “บัตรคนจน” หรือ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” ตั้งแต่เดือน พ.ค. 2565 เป็นต้นไป เช็กเลยได้รับเงินเท่าไร มีสิทธิส่วนลดค่าอะไรบ้าง

นางสาววารี แว่นแก้ว รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เผยว่า โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มี “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 4” ที่ช่วยเหลือวงเงินค่าซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น (ร้านธงฟ้าฯ) และค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการจากร้านค้าหรือผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 จำนวนไม่เกิน 200 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน (1 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2565) ได้สิ้นสุดแล้ว

ทั้งนี้ กรมบัญชีกลาง จึงขอชี้แจงเกี่ยวกับการจ่ายเงินเข้า “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 ดังนี้

ทุกวันที่ 1 ของเดือน (ไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และไม่สะสมในเดือนถัดไป)

  • วงเงินซื้อสินค้า 200/300 บาทต่อเดือน
  • ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 100 บาทต่อ 3 เดือน (เม.ย. – มิ.ย. 65)
  • ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ประกอบด้วย ค่าโดยสารรถ บขส. 500 บาทต่อเดือน, ค่าโดยสารรถไฟ 500 บาทต่อเดือน, ค่าโดยสารรถไฟฟ้า (MRT/BTS/ARL) และ ขสมก. 500 บาทต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่อาศัยอยู่ในเขต กทม. และปริมณฑล)

ทุกวันที่ 15 ของเดือน (สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)

  • เงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยที่ได้รับสิทธิในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ 50/100 บาทต่อเดือน (ผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิตั้งแต่ ต.ค. 64 – ก.ค. 65 จะได้รับเงินเข้าบัตรฯ ในเดือน เม.ย. – ก.ย. 65)

ทุกวันที่ 18 ของเดือน (สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)

  • เงินคืนค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 315 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 315 บาทต่อเดือน)
  • เงินคืนค่าน้ำประปา ไม่เกิน 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ใช้น้ำประปาไม่เกิน 315 บาทต่อเดือน จะได้รับเงินคืนค่าน้ำประปาไม่เกิน 100 บาท ส่วนที่เกินจาก 100 บาท ผู้ถือบัตรฯ เป็นผู้ชำระเอง)

ทุกวันที่ 22 ของเดือน (สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)

  • เงินเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาทต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่มีบัตรประจำตัวคนพิการและได้รับเงินเบี้ยความพิการ)

อย่างไรก็ตาม ผู้มีสิทธิสามารถติดตามข่าวสารของกรมบัญชีกลางได้จากช่องทางต่างๆ ของกรมบัญชีกลาง เช่น Facebook, YouTube, Instagram, Twitter และ CGD Application หรือโทรศัพท์สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 02-109-2345 และ Call Center กรมบัญชีกลาง 02-270-6400 ในวัน เวลาราชการ.

นี่ก็เป็นอีกทางเลือกสำหรับธุรกรรมทางการเงิน สินเชื่อ SME กล้าให้เกิน 100 และ SME กล้าให้เต็ม MAX คือ สินเชื่อธุรกิจเพื่อผู้ประกอบการรายย่อยแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ขยายธุรกิจ เป็นเงินทุนหมุนเวียน หรือ เสริมสภาพคล่อง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชน จากการแพร่ระบาดในสถานการณ์ในช่วงนี้ ค้ำประกันโดย บสย.

คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ

  • นิติบุคคล / บุคคลธรรมดา อายุระหว่าง 20-65 ปี ผู้ที่มีสัญชาติไทย

ประสบการณ์ในทำธุรกิจ

  • 3 ปีขึ้นไป

หลักประกัน

  • ที่ดินเปล่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เช่น สถานประกอบการ ที่อยู่อาศัย เป็นต้น
  • ห้องชุดพักอาศัย
  • เงินฝากออมทรัพย์

วงเงินสินเชื่อ

  • สินเชื่อ SME กล้าให้เกิน 100

สูงสุด 3 เท่าของมูลค่าประเมินหลักประกัน และ ไม่เกิน 20 ล้านบาท

  • สินเชื่อ SME กล้าให้เต็ม MAX

สูงสุด 35 ล้านบาท และ ไม่เกิน 2 เท่าของมูลค่าประเมินหลักประกัน

ระยะเวลาการผ่อนชำระ

  • สูงสุด 10 ปี

อัตราดอกเบี้ย

  • สินเชื่อ SME กล้าให้เกิน 100 MRR+4.70% ต่อปี 13.50% ต่อปี
  • สินเชื่อ SME กล้าให้เต็ม MAX อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 3 เดือนแรกคงที่ 0% ตั้งแต่เดือนที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงตามประกาศธนาคาร

เอกสารประกอบการพิจารณาสินเชื่อ SME กล้าให้เกิน 100 และ SME กล้าให้เต็ม MAX กรณีบุคคลธรรมดา

  • สำเนาบัตรประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร คู่สมรสผู้สมัคร เจ้าของหลักประกัน
  • เอกสารแสดงรายได้ของกิจการ เช่น Statement ย้อนหลังไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือ เอกสารแสดงรายได้อื่น ๆ เช่นบิลการค้า เป็นต้น
  • ใบเปลี่ยนชื่อ / นามสกุลของผู้สมัคร คู่สมรสผู้สมัคร เจ้าของหลักประกัน (ถ้ามี)
  • สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์ และ / หรือ เอกสารทางราชการอื่น ๆ
  • สำเนาเอกสารสิทธิหลักประกัน เช่น โฉนดที่ดินหรือสำเนาหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด

กรณีนิติบุคคล

  • สำเนาบัตรประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลดังต่อไปนี้ กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 20% ขึ้นไปทุกคน / ผู้ค้ำประกันทุกคน / เจ้าของหลักประกัน
  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล (ไม่เกิน 3 เดือน)
  • สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับของนิติบุคคล และสำเนาตราประทับ
  • สำเนาทะเบียนผู้ถือหุ้น (ไม่เกิน 3 เดือน)
  • สำเนารายการจดทะเบียนจัดตั้ง (บอจ.3)
  • สำเนารายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ / หรือ มติพิเศษ (บอจ.4) (ถ้ามี)
  • งบการเงิน ฉบับยื่นสรรพากรปีล่าสุด และย้อนหลัง 2 ปี
  • เอกสารใบสรุปภาษีมูลค่าเพิ่ม / ภาษีหัก ณ ที่จ่ายอย่างน้อย 6 เดือน (ถ้ามี)
  • เอกสารแสดงรายได้ของกิจการ เช่น Statement ย้อนหลังไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  • เอกสารแสดงรายได้อื่น ๆ เช่น บิลการค้า
  • สำเนาเอกสารสิทธิหลักประกัน เช่น โฉนดที่ดิน หรือ สำเนาหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด

ที่มาธนาคารไทยเครดิต

ท่านที่สนใจสามารถสอบถามได้ที่ ธนาคารไทยเครดิตทุกสาขาทั่วประเทศ